ผบก.สุรินทร์เปิดฝึกอบรมผู้นำประชาชนสร้างเครือข่ายระดับตำบล

ที่ห้องรัตนสยามมงคล โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ พล.ต.ต.สุคนธ์ ศรีอรุณ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมประชาชนฯ ตามโครงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมระดับตำบล เพื่อสนับสนุนการป้องกันอาชญากรรม ตามนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (Stronger Together) ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 และร่วมบรรยายในหัวข้อ สถานการณ์ของประเทศไทยด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน เพื่อให้ความรู้ต่อผู้เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และเทคโนโลยีค่อนข้างรวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อการเกิดอาชญากรรม อาทิ ความขัดแย้งทางสังคม ปัญหาสุขภาพจิตส่งผลกระทบโดยตรงต่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน มี พ.ต.อ.ศิราเมษฐ์ ธานินพิทักษ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ พ.ต.อ.กิตติเชษฐ์ ศักยภาพวิชานนท์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ พ.ต.อ.ต่อศักดิ์ ศรีเสริม  รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรในสังกัด และผู้เข้ารับการฝึกอบรมรุ่นที่ 2 ประกอบด้วย ประธานชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเครือข่ายตำรวจเข้าร่วม จำนวน 800 คน ร่วมพิธี

พล.ต.ต.สุคนธ์ ศรีอรุณ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรืนทร์ กล่าวว่า โครงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันอาชญากรรมระดับตำบล ตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (Stronger Together) ของรัฐบาล โดยได้กำหนดเป้าหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดยุทธศาสตร์ การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกมิติ  พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้ให้ความสำคัญและนำนโยบายรัฐบาลมาสู่การปฏิบัติ   สั่งการให้ทุกหน่วยดำเนินโครงการ “สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมระดับตำบล เพื่อสนับสนุนการป้องกันอาชญากรรม ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (Stronger Together)” มีเป้าหมาย “เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอและแก้ไขปัญหา ชุมชนสังคมความสงบเรียบร้อย ประชาชนมีอาชีพมีรายได้ ส่งเสริมวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว เพื่อความผาสุกของประชาชนอย่างยั่งยืน”

พล.ต.ต.สุคนธ์กล่าวอีกว่า ได้ขอความร่วมมือจากเครือข่ายในการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชนปราชญ์ท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ให้สะท้อนถึงปัญหาของในแต่ละพื้นที่ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีปัญหาที่ไม่เหมือนกัน อีกทั้งเพื่อจะได้บูรณาการความร่วมมือของส่วนราชการภาคเอกชน และประชาชน ทุกภาคส่วน รวมพลังกัน เพื่อทำนุบำรุงสถาบันหลักของชาติ ได้แก่ ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในทุกมิติ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สืบไป และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกท่าน จะสามารถนำความรู้ และแนวทางที่ได้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติ เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ระดับตำบล และเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ต่อไป

RELATED ARTICLES